ไม้แบบก่อสร้าง โครงสร้างชั่วคราวสำหรับค้ำยันในการสร้างบ้าน

A close-up of a building Description automatically generated with medium confidence

ไม้แบบก่อสร้าง โครงสร้างชั่วคราวสำหรับค้ำยันในการสร้างบ้าน

ไม้แบบหรือไม้แบบก่อสร้าง เป็นโครงสร้างชั่วคราวที่ทำจากไม้ เพื่อใช้สำหรับติดตั้งเป็นแม่แบบในงานหล่อคอนกรีตและคอนกรีตเสริมสำหรับโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ถนน เป็นต้น โดยใช้ไม้แบบ

จะมีหน้าที่รับน้ำหนักของคอนกรีต และสร้างขอบเขตในการเทให้คอนกรีตออกมาเป็นรูปแบบตามที่เราต้องการ ไม้แบบจะเป็นลักษณะคล้ายไม้กระดานสำหรับปื้น ทำมาจากไม้กระบาก ไม้ยาง ไม้สน หรือไม้อัดประสานชนิดต่าง ๆ มีขนาดหน้ากว้าง 6 , 8 และ 10 นิ้ว ความหนาทั่วไปของไม้โดยประมาณคือ 1 นิ้ว

และมีความยาวเท่ากับระยะช่วงมาตรฐานหรือขนาดของห้องที่ได้รับความนิยมกัน คือ 2.5 , 3 , 3.5 หรือ 4 เมตร เพื่อให้พอดีสำหรับการติดตั้งไม้แบบในการหล่อคอนกรีต รวมถึงยังมีการใช้ในแผ่นไม้อัดเคลือบฟิล์ม ในการหล่อคอนกรีตอีกด้วย ชั้นฟิล์มพลาสติกที่เคลือบอยู่นี้จะช่วยป้องกันปูนไม่ให้ยึดติดแน่นกับแผ่นไม้ ทำให้ถอดแบบได้สะดวกและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก A picture containing chair, wooden, seat, wood

Description automatically generated

โดยแผ่นไม้อัดทั่วไปจะมีขนาด 1.2×2.4 เมตร และมีความหนา 10 , 15 หรือ 20 มิลลิเมตร นิยมใช้กระดานในส่วนของโครงสร้าง เสา คาน หรือ บันได ส่วนแผ่นไม้อัดจะใช้งานในส่วนของพื้นผิวมากอย่างเช่น ฐานราก ผนังหลังคาดาดฟ้าหรือพื้น เป็นต้น

ไม้แบบสำหรับงานก่อสร้ามีมากมายหลายชนิด และการเลือกใช้งานไม้แบบแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไม้แบบประเภทไหนเหมาะสมสำหรับงานอย่างไร

 

1.ไม้ยูคาลิปตัส

เป็นไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างในเรื่องของการเทพื้น ค้ำยันเสาเวลาเทพื้น รองปั้นจั่น ตอกเสา ทำเพิง ทำป้ายโฆษณา เพราะเนื้อไม้มีความแข็งแรง ทนทานและสามารถใช้ในการสร้างบ้านพักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงาน

2.ไม้เบญจพรรณ

เป็นไม้ผสมทั้งเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน เป็นไม้ที่นิยมกันมากที่สุด โดยการใช้งานใช้ทำแบบเสา ทำโครงสำหรับยึดแบบ เทพื้น ทำนั่งร้าน ทำแปหลังคา มีความคงทนปานกลาง

3ไม้ยางมาเลย์

เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง เพราะมีลักษณะเฉพาะตัวที่เหมาะสม เป็นไม้เนื้อแข็ง ตีตะปูง่าย มีราคาไม่แพง และมีการนำเข้าส่งออกเป็นจำนวนมากในประเทศไทย เหมาะสำหรับทำแบบไม้หน้าสาม ไม้ฝ้า และไม่โครงต่าง ๆ โดยไม้ยางมาเลย์จะใช้งานได้ดีกว่าไม้เบญจพรรณ

4.ไม้กระบาก

เป็นไม้ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีคุณภาพดี ไม่บิดงอ และสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ทำงานง่าย ตีตะปูง่ายใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตได้ดี

5.ไม้เต็ง

เป็นไม้ที่มีสีน้ำตาลแก่แกมแดง เนื้อหยาบ มีความทนทาน เหมาะสำหรับทำหมอนรองรางรถไฟ ทำโครงสร้างอาคาร เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในและภายนอก